วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

รายชื่อผู้จัดทำ



นั้นแหละน๊าาาามีกลุ่มก็เหมือนไม่มี
เราทำเองคนเดียวนะ 


เด็กหญิงปรัชญาวีเมืองโสม ม.3/4 เลขที่ 24

บทที่ 1 ประวัติของประเทศญี่ปุ่น


ญี่ปุ่น  มีชื่อทางการคือประเทศญี่ปุ่น (นิฮงโกะกุ/นิปปงโกะกุเป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือ ติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์ เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่าถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์ จึงทำให้บางครั้งถูกเรียกว่าดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย

ญี่ปุ่นมีเนื้อที่กว่า 377,930 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 61 ของโลก หมู่เกาะญี่ปุ่นประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่กว่า 3,000 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดก็คือเกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ตามลำดับ เกาะของญี่ปุ่นส่วนมากจะเป็นหมู่เกาะภูเขา ซึ่งในนั้นมีจำนวนหนึ่งเป็นภูเขาไฟ เช่นภูเขาไฟฟูจิ ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศ เป็นต้น ประชากรของญี่ปุ่นนั้นมีมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก คือประมาณ 128 ล้านคน เมืองหลวงของญี่ปุ่นคือกรุงโตเกียว ซึ่งถ้ารวมบริเวณปริมณฑลเข้าไปด้วยแล้วจะกลายเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีประชากรอยู่อาศัยมากกว่า 30 ล้านคน




ขอขอบคุณเอกสารอ้างอิง

ญี่ปุ่น วิกิพีเดีย
วัฒนธรรมญี่ปุ่น
คนลุง google.com



วัฒนธรรม

วัฒนธรรมญี่ปุ่นมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่วัฒนธรรมยุคโจมงซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศ


การเล่นโคะโตะ


โทริอิของศาลเจ้าอิสึกุชิมะซึ่งเป็นศาลเจ้าลัทธิชินโต


ย่านโดทมโบะริ นครโอซะกะ

ดนตรี

ดนตรีญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมข้างเคียงเช่นจีนและคาบสมุทรเกาหลี รวมทั้งจากโอะกินะวะและฮกไกโด ตั้งแต่โบราณ เครื่องดนตรีหลายชิ้น เช่น บิวะ โคะโตะ ถูกนำเข้ามาจากจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 และชะมิเซ็งเป็นเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงจากเครื่องดนตรีโอะกินะวะซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่กลางพุทธศตวรรษที่ 21 ญี่ปุ่นมีเพลงพื้นบ้านมากมาย เช่นเพลงที่ร้องระหว่างการเต้นบงโอะโดะริ เพลงกล่อมเด็ก ดนตรีตะวันตกเริ่มเข้ามาในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 และถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม หลังสงคราม ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางด้านดนตรีสมัยใหม่จากอเมริกาและยุโรปเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดการพัฒนาแนวดนตรีที่เรียกว่า เจ-ป็อป ญี่ปุ่นมีนักดนตรีคลาสสิกที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายคน เช่น วาทยากร เซจิ โอะซะวะ นักไวโอลิน มิโดะริ โกะโต เมื่อถึงช่วงสิ้นปี จะมีการเล่นคอนเสิร์ตซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโทเฟนทั่วไปในญี่ปุ่น

วง AKB48






วรรณกรรม

ภาพจากเรื่องตำนานเก็นจิ


วรรณกรรมญี่ปุ่นชิ้นแรกได้แก่หนังสือประวัติศาสตร์ที่ชื่อ โคะจิกิ และ นิฮงโชะกิ และหนังสือบทกวีสมัยศตวรรษที่ 8 ที่ชื่อ มังโยชู ซึ่งเขียนด้วยภาษาจีนทั้งหมด ในช่วงต้นของยุคเฮอัง มีการสร้างระบบการเขียนแทนเสียงที่เรียกว่า คะนะ (ฮิระงะนะ และ คะตะคะนะ) นิทานคนตัดไม้ไผ่ ถูกพิจารณาว่าเป็นงานที่เก่าแก่ที่สุดที่เขียนด้วยภาษาญี่ปุ่น ตำนานเก็นจิ ที่เขียนโดยมุระซะกิ ชิกิบุมักถูกเรียกว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของโลก ระหว่างยุคเอโดะ วรรณกรรมไม่อยู่ในความสนใจของซามูไรเท่ากับ โชนิน ชนชั้นประชาชนทั่วไป ตัวอย่างเช่น โยะมิฮง กลายเป็นที่นิยมและเผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งระหว่างนักอ่านกับนักเขียน ในสมัยเมจิ วรรณกรรมดั้งเดิมได้เสื่อมสลายลง ขณะที่วรรณกรรมญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น โซเซะกิ นะสึเมะและโองะอิ โมริเป็นนักแต่งนิยายสมัยใหม่รุ่นแรกของญี่ปุ่น ตามมาด้วย ริวโนะซุเกะ อะคุตะกะวะ, ทะนิซะกิ จุนอิชิโระ, ยะซุนะริ คะวะบะตะ, มิชิมะ ยุกิโอะ และล่าสุด ฮะรุกิ มุระกะมิ ญี่ปุ่นมีนักเขียนที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม 2 คน ได้แก่ ยะซุนะริ คะวะบะตะ (พ.ศ. 2511) และ เค็นซะบุโร โอเอะ (พ.ศ. 2537)



กีฬา



หลังจากการปฏิรูปเมจิ กีฬาตะวันตกก็เริ่มเข้ามาในญี่ปุ่นและแพร่หลายไปทั่วประเทศด้วยระบบการศึกษาในญี่ปุ่น กีฬานับเป็นกิจกรรมยามว่างที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยพัฒนาวินัย การเคารพกฎกติกา และช่วยสั่งสมน้ำใจนักกีฬา ชาวญี่ปุ่นทุกวัยให้ความสนใจกับกีฬาทั้งในฐานะผู้ชมและผู้เล่น กีฬาที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ได้แก่
ซูโม่เป็นกีฬาประจำชาติของญี่ปุ่นที่มีประวัติอันยาวนาน และเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในญี่ปุ่น ศิลปะป้องกันตัวของญี่ปุ่น เช่น ยูโด คาราเต้ และเคนโด้ ก็เป็นกีฬาที่มีผู้เล่นและผู้ชมมากเช่นเดียวกัน
การแข่งขันเบสบอลอาชีพในญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ. 2479 มี 2 ลีก คือเซ็นทรัลลีกและแปซิฟิกลีก ในปัจจุบันเบสบอลเป็นกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในประเทศ ในระหว่างฤดูกาลการแข่งขัน จะมีการถ่ายทอดการแข่งขันเกือบทุกคืนและมีอัตราผู้ชมรายการที่สูงนักเบสบอลญี่ปุ่นที่โด่งดังที่สุดคือ อิจิโร ซุซุกิ และ ฮิเดะกิ มัตซุย 
ตั้งแต่มีการก่อตั้งลีกฟุตบอลอาชีพของญี่ปุ่น ใน พ.ศ. 2535 ฟุตบอลในประเทศญี่ปุ่นก็เป็นที่นิยมมากขึ้น ญี่ปุ่นเป็นสถานที่จัดฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2547 และเป็นเจ้าภาพร่วมกับเกาหลีใต้ในการแข่งฟุตบอลโลก 2002 ทีมฟุตบอลญี่ปุ่นเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในเอเชีย สามารถชนะเลิศเอเชียนคัพ 3 ครั้ง


การแข่งขันซูโม่ในเรียวโงกุ โคกุงิกัง ใน โตเกียว

อาหาร


ชาวญี่ปุ่นกินข้าวเป็นอาหารหลัก อาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงได้แก่ซูชิ เทมปุระ สุกียากี้ ยากิโทริและโซบะ อาหารญี่ปุ่นหลายอย่างดัดแปลงจากอาหารต่างประเทศ เช่นทงคัตสึ ราเม็งและแกงกะหรี่ญี่ปุ่น อาหารญี่ปุ่นได้รับความนิยมในต่างประเทศเพราะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จากการสำรวจพบว่าในปี 2006 มีร้านอาหารญี่ปุ่นมากกว่า 20,000 แห่งทั่วโลก
ชาวญี่ปุ่นมีความพิถีพิถันในการเลือกวัตถุดิบจึงทำให้มีอาหารประจำท้องถิ่นและอาหารประจำฤดู วัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ในอาหารญี่ปุ่นคือถั่วเหลือง ซึ่งนำมาทำโชยุ มิโสะ เต้าหู้ ถั่วแดงซึ่งมักนำมาทำขนม และสาหร่ายชนิดต่าง ๆ เช่นคอมบุ นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังนิยมกินซะชิมิหรืออาหารทะเลดิบอีกด้วย

ชาในญี่ปุ่นมีหลายชนิดซึ่งแตกต่างไปตามกรรมวิธีการผลิตและส่วนผสม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่นคือเหล้าสาเก (หรือนิฮงชุ ในภาษาญี่ปุ่น) ซึ่งผลิตโดยใช้วิธีหมักข้าว และโชชูซึ่งเป็นเหล้าที่เกิดจากการกลั่นชาวญี่ปุ่นกินข้าวเป็นอาหารหลัก อาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงได้แก่ซูชิ เทมปุระ สุกียากี้ ยากิโทริและโซบะ อาหารญี่ปุ่นหลายอย่างดัดแปลงจากอาหารต่างประเทศ เช่นทงคัตสึ ราเม็งและแกงกะหรี่ญี่ปุ่น อาหารญี่ปุ่นได้รับความนิยมในต่างประเทศเพราะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จากการสำรวจพบว่าในปี 2006 มีร้านอาหารญี่ปุ่นมากกว่า 20,000 แห่งทั่วโลก
ชาวญี่ปุ่นมีความพิถีพิถันในการเลือกวัตถุดิบจึงทำให้มีอาหารประจำท้องถิ่นและอาหารประจำฤดู วัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ในอาหารญี่ปุ่นคือถั่วเหลือง ซึ่งนำมาทำโชยุ มิโสะ เต้าหู้ ถั่วแดงซึ่งมักนำมาทำขนม และสาหร่ายชนิดต่าง ๆ เช่นคอมบุ นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังนิยมกินซะชิมิหรืออาหารทะเลดิบอีกด้วย
ชาในญี่ปุ่นมีหลายชนิดซึ่งแตกต่างไปตามกรรมวิธีการผลิตและส่วนผสม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่นคือเหล้าสาเก (หรือนิฮงชุ ในภาษาญี่ปุ่น) ซึ่งผลิตโดยใช้วิธีหมักข้าว และโชชูซึ่งเป็นเหล้าที่เกิดจากการกลั่น





การ์ตูนญี่ปุ่น

การ์ตูนญี่ปุ่น เป็นคำที่ใช้เรียก หนังสือการ์ตูน หรือภาพยนตร์การ์ตูนที่มาจากประเทศญี่ปุ่น ลักษณะของการ์ตูนญี่ปุ่น ตัวละครในเนื้อเรื่องจะมีลักษณะเฉพาะตัว และเนื้อเรื่องที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากแล้ว ภาพของคนและสัตว์ที่ปรากฏในการ์ตูนญี่ปุ่นมักจะมีสัดส่วนผิดเพี้ยนไปจากความจริง เช่นมีทรวดทรงที่เล็ก-ใหญ่กว่าปกติ หรือดวงตาที่โตกว่าปกติ แตกต่างจากการ์ตูนฝั่งตะวันตกที่มักจะเขียนภาพคนและสัตว์ออกมาในลักษณะเหมือนจริง ในภาษาญี่ปุ่นและหลายประเทศที่รับเอาวัฒนธรรมการ์ตูนญี่ปุ่นเข้าไปจะเรียกหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นศัพท์เฉพาะว่า มังงะ (ญี่ปุ่น:manga ) และเรียกภาพยนตร์การ์ตูนจากญี่ปุ่นว่า อะนิเมะ (ญี่ปุ่น:anime ?) (ตัดทอนมาจากคำว่า Animation ในภาษาอังกฤษ)




ปกหนังสือ "เงาแดง" หนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นในประเทศไทยยุคแรก จากหนังสือพิมพ์การ์ตูนเด็ก

อะนิเมะ

อะนิเมะ (ญี่ปุ่น:anime) เป็นคำภาษาญี่ปุ่นซึ่งดิกชันแนรี.คอมนิยามว่าหมายถึง "ภาพเคลื่อนไหวซึ่งทำเป็นภาพยนตร์แบบญี่ปุ่น มีลักษณะพิเศษตรงศิลปะที่มีรูปแบบเฉพาะและมากสีสันอย่างยิ่ง มีฉากแบบอนาคตนิยม แสดงความรุนแรงและกามวิสัย และระบุว่า คำดังกล่าวเกิดขึ้นราวต้นพุทธทศวรรษที่ 2510 อิงคำ "ลานีเม" (l'animé) ในภาษาฝรั่งเศสซึ่งหมายความว่า ภาพเคลื่อนไหว หรือการทำให้เคลื่อนไหว









อาถรรพ์และตำนานดาบซามูไร…ในยุคมืดของญี่ปุ่น

ว่ากันว่าดาบมาซามุเนะนั้นจะทำให้ผู้ที่ถือรู้สึกสงบและมีสมาธิ แต่ดาบมุรามาสะจะทำให้ผู้ถือเกิดความคึกคะนองและบ้าคลั่ง ผู้ครอบครองจะถูกกินวิญญาณทีละนิดๆเพื่อนำมาเป็นพลังของดาบ บ้างก็ประสบภัยพิบัติเช่นชินเก็น ทาเคดะ (Shingen Takeda) เจ้าของกระบวนรบลมป่าไฟภูเขา (FuRinKaSan) แม้ว่าจะชนะในการรบอยู่เรื่อยมาก็เกิดการเจ็บป่วยจนตาย และตระกูลก็พังพินาศในสมัยของลูกชายตนเอง

นับจากนั้นเป็นต้นมาดาบของตระกูลมุรามาสะและตระกูลมาซามุเนะก็เป็นที่เลื่องลือกันไปทั่วทั้งแผ่นดิน โดยผู้ที่จะได้ครอบครองดาบจากสองตระกูลนี้จะต้องเป็นถึงชนชั้นสูงอย่างจักรพรรดิ เชื้อพระวงศ์ และโชกุน หรือต่ำสุดก็ต้องเป็นไดเมียวตระกูลใหญ่ๆเท่านั้น ส่วนพวกผู้ครองเมืองหรือซามูไรธรรมดาจะไม่มีสิทธิ์ได้ถือครองเลย แต่ว่าดาบของสองตระกูลนี้กลับมีพลังอาถรรพ์ที่น่ากลัวมากมาย ซึ่งเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าผู้ใดที่ได้จับหรือครอบครองดาบของตระกูลมาซามุเนะและมุรามาสะนั้น จะรู้สึกถึงใบดาบในฝักที่มีอาการสั่นเร่าๆพร้อมกับเสียงร้องหวีดแหลมเล็กเบาๆในหูราวกับว่ามันมีชีวิตจริง อาจจะเป็นไปได้ว่าเจ้าดาบอาถรรพ์นี้กำลังร้องเรียกให้ผู้เป็นนายดึงมันออกมาจากฝักดาบที่เป็นพันธนาการ ให้พุ่งออกมาวาดลวดลายล้างผลาญชีวิตศัตรูหรือแม้กระทั่งเจ้านายของมันเอง เพราะใครก็ตามที่ได้ครอบครองมันก็จะต้องมีเหตุให้หลั่งเลือดหมู่ศัตรูหรือแม้แต่เลือดของตนเองแทบทุกคน




ดาบสั้นของตระกูลมาซามุเนะ อยู่ที่ Tokyo National Museum


ดาบของตระกูลมาซามุเนอะ อยู่ที่ Mitsui Memorial Museum





ภาพเก่า สมัยเมจิ















การโค้งคำนับ












การโค้งคำนับแบบ 15 องศา หรือที่เรียกว่า 会釈(Eshaku)
ใช้เมื่อเดินผ่านผู้ร่วมงานหรือผู้อื่น เป็นการทักทายแบบสั้นๆ หรือในกรณีที่เสิร์ฟน้ำชาให้กับลูกค้า ให้โคงคำนับเมื่อใกล้ถึงโต๊ะ
การโค้งคำนับแบบ 30 องศา หรือที่เรียกว่า 敬礼(Keirei)
เป็นแบบการโค้งคำนับที่ใช้บ่อยที่สุด ใช้แสดงความเคารพ เช่น เมื่อพบเจ้านาย หัวหน้างาน หรือลูกค้า รวมถึงกรณีออกไปพบลูกค้านอกบริษัท เวลาคำนับ ให้ลำตัวตรงตั้งแต่ศีรษะถึงเอว
การโค้งคำนับแบบ 45 องศา หรือที่เรียกว่า 最敬礼(Saikeirei)
ใช้เมื่อต้องการขอโทษ เช่น ทำงานผิดพลาด หรือใช้เพื่อแสดงความขอบคุณ หรือแสดงความเคารพอย่างสูง โดยให้โค้งค้างไว้ 2 วินาที

สิ่งที่ควรปฏิบัติขณะที่โค้งคำนับ
1.ในขณะที่คำนับ ต้องหยุดอยู่กับที่แล้วค่อยคำนับ
2.หากมีคำพูด ให้พูดให้จบแล้วค่อยคำนับ

3.การพูด ต้องพูดให้เสียงดังชัดเจน ไม่พูดอยู่ในลำคอ











ตำนานการชงชา



สมัยก่อนมีพระรูปหนึ่งชื่อเอไซ (えいさい: Eisai) ซึ่งเป็นคนนำชาเข้ามาจากประเทศจีน สมัยนั้นจะมีแต่พระเท่านั้นที่นิยมดื่มกันจนพระเอไซนำไปมอบให้โชกุนได้ลองชิม จึงทำให้ชามีชื่อเสียงโด่งดังและแพร่หลายไปถึงในวัง จนมีการนำไปปลูกนอกเมืองเกียวโต (ขณะนั้นเมืองหลวงคือเกียวโต)
สำหรับชนชั้นสูงสมัยนั้นจะนิยมดื่มชากันในงานเลี้ยงสังสรรค์ โดยมีการดื่มชาก่อนอาหารหลัก และเมื่อรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะมีการเล่นเกมทายชา (ให้ชิมน้ำชาและทายว่าเป็นชาอะไร) จนได้มีการพัฒนาไปเป็นพิธีชงชาสำหรับคนรักการดื่มชา ซึ่งพิธีชงชาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ วาบิชะ (wabicha : わび茶) เป็นพิธีชงชาแบบเรียบง่ายทั้งพิธีและสถานที่ ก่อตั้งโดยพระจากนิกายเซนชื่อว่าทาเกะโนโจโอ (Takeno Jouou : 武野 紹鴎) ต่อมาได้ถูกพระเซนโนะริคิว (Senno Rikyu : 千利休) พัฒนาจนเป็นพิธีแบบในปัจจุบัน ทั้งวางรูปแบบและกำหนดวิธีการชงชาต่างๆยึดหลักที่ว่าต้องเรียบง่ายและจริงใจระหว่างทำพิธี



สำหรับชนชั้นสูงสมัยนั้นจะนิยมดื่มชากันในงานเลี้ยงสังสรรค์ โดยมีการดื่มชาก่อนอาหารหลัก และเมื่อรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะมีการเล่นเกมทายชา (ให้ชิมน้ำชาและทายว่าเป็นชาอะไร) จนได้มีการพัฒนาไปเป็นพิธีชงชาสำหรับคนรักการดื่มชา ซึ่งพิธีชงชาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ วาบิชะ (wabicha : わび茶) เป็นพิธีชงชาแบบเรียบง่ายทั้งพิธีและสถานที่ ก่อตั้งโดยพระจากนิกายเซนชื่อว่าทาเกะโนโจโอ (Takeno Jouou : 武野 紹鴎) ต่อมาได้ถูกพระเซนโนะริคิว (Senno Rikyu : 千利休) พัฒนาจนเป็นพิธีแบบในปัจจุบัน ทั้งวางรูปแบบและกำหนดวิธีการชงชาต่างๆยึดหลักที่ว่าต้องเรียบง่ายและจริงใจระหว่างทำพิธี


โดยมีคอนเสบของการชงชาคือ 和・敬・清・寂 (わけいせいじゃく)
和(wa) มีความหมายว่า ความสงบ สันติ
敬(kei) มีความหมายว่า ความเคารพ
清(sei) มีความหมายว่า ความสะอาด บริสุทธิ์
寂(jakku) มีความหมายว่า ความเงียบสงบ







และมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าบ้านและแขกผู้มาเยือนว่า 一期一会 (いちごいちえ:Ichigo ichie) ถือเสมือนว่าทั้งสองเจอกันแค่ครั้งเดียว ต้องให้เกียรติกันและทำให้ดีที่สุด
สำนักที่สืบทอดพิธีชงชาแบบวาบิชะนั้นชื่อว่าอุระเซงเคะ (Urasenke : 裏千家) ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น 茶の湯 (Chanoyu) และปัจจุบันคือ 茶道 (Chado)
ส่วนชาที่ชงในพิธีนั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ
濃茶 (Koicha) ต้องชงในภาชนะใหญ่ดื่มกันได้หลายคน จึงต้องชงให้มีรสชาติเข้มข้น
薄茶 (Usucha) เป็นการชงในถ้วยเล็กๆเพื่อดื่มคนเดียว ใช้กันทั่วๆไปและสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน เมื่อก่อนเสิร์ฟกับขนมแห้ง (Higashi) แต่ปัจจุบันเสิร์ฟกับขนมสด

ที่มา : ตำนานชงชา





โนว & เคียวเง็น & คาบุกิ ต่างกันอย่างไร



ละครโนว ()
เป็นวรรณคดีประเภทละครที่เกิดในสมัยมุโรมาจิ (Muromachi : 室町時代) มีต้นกำเนิดมาจากเพลงสวดและการร่ายรำบูชาเทพเจ้า บทร้องในละครโนวจะเป็นการเปล่งเสียงออกมาในระดับเดียวไม่ใช้โทนเสียงที่หวือหวา คำพูดมักจะใช้สำนวนโวหารเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ให้ตีความ และด้วยการเคลื่อนไหวเชื่องช้าซึ่งจะทำให้จิตใจสงบตามหลักของลัทธิเซน จึงเป็นที่นิยมในหมู่นักรบและซามูไรที่กำลังรุ่งเรื่องในสมัยนั้น ละครโนวนั้นมีลักษณะเรียบง่าย นักแสดงจะสวมหน้ากากและแต่งกายในชุดญี่ปุ่นโบราณ คนปกติอย่างเราๆไปดูอาจถึงกับง่วงนอนได้เลยทีเดียว

เคียงเง็น (狂言)


เป็นละครชวนหัวซึ่งจะเอาชีวิตความเป็นอยู่แบบชาวบ้านมาผูกเรื่องและตีแผ่ออกมาในแง่ขบขัน เช่น เรื่องเกี่ยวกับลูกน้องกับเจ้านาย, พ่อตากับลูกเขย และซามูไรขี้ขลาด เป็นต้น และใช้วิธีดำเนินเรื่องด้วยการพูดคุยแบบธรรมดาตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อมแบบโนว ไม่ได้ใช้ศิลปะการร้องรำแบบละครแบบโนว มีต้นกำเนิดมาจากละครชวนหัวสมัยปลายเฮอัน (Heian : 平安時代) ที่เป็นการเล่นตลกล้อเลียนหรือการถามตอบของตัวละครในเรื่องสนุกๆ เมื่อถึงสมัยมุโรมาจิจึงกลายเป็นละครที่เล่นสลับฉากกับโนวเพื่อช่วยผ่อนคลายอารมณ์ นับว่าเป็นละครที่เสียดสีสังคมสมัยนั้นด้วยอารมณ์ขันโดยถือเอามนุษย์เป็นหลัก จึงได้ชื่อว่าเป็น ละครแห่งมนุษย์

คาบูกิ (歌舞伎)
มาจากคำว่า “Kabuku” เป็นคำกริยาแปลว่าผิดแปลก, สดใส, ฉูดฉาด เป็นการแสดงที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว แสดงออกถึงท่าทางที่มีความหมายชัดเจน เช่น ร้องไห้ เสียใจ ดีใจ โกรธ บ้าคลั่ง ไม่ต้องแฝงแนวคิดอะไรเนื่องจากประชาชนสมัยนั้นคือพวกพ่อค้าจึงทำให้เป็นที่นิยมดูกัน คาบูกินั้นเกิดขึ้นจากการร้องเพลงร่ายรำพร้อมกับกระดิ่งในพิธีศาสนาของของมิโกะจากศาลเจ้าอิซึโมะ มิโกะคนนี้ได้สร้างความแปลกใจและพึงพอใจให้กับชาวเมืองเป็นอย่างมาก โดยการสวมชุดดำและถือกระดิ่งมีพู่สีแดงสดเต้นและร้องด้วยท่าทีที่งดงาม จนชาวเมืองได้โยนเงินลงที่เวทีเป็นจำนวนมากเพื่อบริจาคให้กับศาลเจ้า และการแสดงครั้งนี้จึงถือเป็นต้นกำเนิดคาบูกิ
หลังจากนั้นได้มีการแสดงทำนองเดียวกันแต่นักแสดงหญิงนั้นส่วนมากเป็นโสเภณี โชกุนจึงสั่งห้ามแสดงเด็ดขาด ต่อมาจึงให้คนแสดงเป็นผู้ชายเท่านั้นและก็ยังเกิดปัญหาเรื่องรักร่วมเพศกับเด็กอีกเนื่องจากมีเด็กผู้ชายแสดงด้วย ภายหลังจึงอนุญาตให้ผู้ชายที่โตแล้วแสดงได้เท่านั้นแม้แต่บทที่เป็นตัวละครผู้หญิง จุดเด่นของคาบูกิคือ ผู้แสดงจะไม่ใส่หน้ากากแต่จะแต่งหน้าจัดและเป็นเอกลักษณ์มาก


คาบูกิ


ละครโนว


เคียงเง็น

“โนกุจิ ฮิเดโยะ” บุคคลสำคัญบนธนบัตรพันเยน

บุคคลสำคัญบนธนบัตรคนถัดไปที่ทาง anngle จะแนะนำให้รู้จักเป็นเจ้าของประโยคที่ว่า “ความอดทนมีรสขม แต่ผลของมันมีรสหวาน ” ฮิเดโยะ โนกุจิ (Hideyo Noguchi : 野口英世) หรือมีชื่อเดิมว่าเซซากุ โนกุจิ (Sesagu Noguchi : 野口清作) เป็นบุคคลสำคัญอีกท่านหนึ่งซึ่งมีรูปปรากฏอยู่บนธนบัตร 1000 เยน
ฮิเดโยะ โนกุจิ (Hideyo Noguchi : 野口英世 ) เป็นนักวิจัยแบคทีเรียผู้ค้นพบต้นเหตุของโรคซิฟิลิสได้สำเร็จเป็นคนแรก  
ฮิเดโยะมีชีวิตวัยเด็กที่ไม่สวยงามมากนัก เขาเกิดในครอบครัวชาวนาที่ยากจน ที่เมืองอินาวาชิโระจังหวัดฟุกุชิมะ (福島)  
โดยอาศัยอยู่กับแม่ที่ชื่อชิกะเพียงลำพัง ในวัยเด็กเขาได้รับอุบัติเหตุเนื่องจากพลัดตกลงไปในเตาหลุมที่ทำอาหาร จึงโดนไฟลวกเป็นแผลพองที่รักษาไม่หาย จนมือข้างซ้ายของเขาไม่สามารถใช้งานได้อีกเลย
โนงุจิ ฮิเดโยะ เสียชีวิตลงด้วยโรคไข้เหลืองในปี 1936 วันที่ 21 พฤษภาคม ณ กรุงอัคคร่า ที่ประเทศกาน่าด้วยอายุเพียง 51 ปี ในระหว่างเดินทางไปทำงานอาสาสมัคร ในทวีปแอฟริกาใต้เพื่อค้นคว้าและทำวิจัยเกี่ยวกัยโรคไข้เหลืองเพิ่มเติม

อาจสรุปได้ว่าฮิเดโยะเป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญที่สละเวลาและทั้งชีวิตเพื่อการพัฒนาความรู้ทางด้านการแพทย์ ถึงจะมีจุดเริ่มต้นที่ไม่สวยงามแต่ก็ได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับโลกและประเทศชาติจนทุกคนยอมรับ  และได้เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่ได้ตีพิมพ์รูปลงบนธนบัตรพันเยนของประเทศญี่ปุ่น


ธนบัตรพันเยน